วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความขนมไทย

"ขนมไทย กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจ"
          ขนมไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานเท่าที่มีการบันทึกก็เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย เมื่อมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมทางอาหารการกินมาจากต่างชาติด้วย
 



ขนมไทยกับความต้องการจากนานาชาติ
ขนมไทยเป็นที่ชื่นชอบจากนานาชาติโดยประเทศไทยได้มีการส่งออกขนมไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์มาเลเซียหรือเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีการทานขนมจากแป้งเหมือนประเทศไทย โดยประเทศเหล่านี้จะชอบทานขนมจำพวกขนมเหนียว ถั่วแปบ ฝอยทองกรอบส่วนประเทศทางยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งชอบทานของหวานอย่างเช่นไอศกรีมหรือช็อกโกแลตก็ปรากฏว่าขนมอย่างวุ้นกะทิ ขนมผิง ลูกชุบ หรือขนมอย่างอาลัวที่ได้ดัดแปลงโดยใช้ช็อกโกแลต คัสตาร์ดและนมเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมมาก สำหรับทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเองยอดการส่งออกขนมไทยก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคนเอเชียเข้าไปอยู่อาศัยจำนวนมาก โดยคิดเป็นสัดส่วน 4.2% ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 11.9ล้านคน โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์กและฮาวาย


                                                                       

                สำหรับสินค้า OTOP ของไทยในส่วนของขนมหวานก็เป็นที่น่าจับตามอง ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่าจากการจัดอันดับผู้ค้าผลิตภัณฑ์ขนมไทย OTOPในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์พบว่าประเทศไทยได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 3 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เช่น ข้าวแต๋น และขนมทองม้วนแต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่น เช่นพวกเครื่องแกง เป็นต้น โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 6.0 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้เป็นได้ว่าสาเหตุหลักมาจากผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก

ผู้ประกอบการขนมไทยสู่ครัวโลก
สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายขนมไทยเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศนั้นได้เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น
h บ้านขนมไทยนพวรรณ
h ร้านขนมไทยเก้าพี่น้อง
h ขนมแม่เอย-เปี๊ยะแอนด์พาย(2003)

นอกจากร้านที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีผู้ผลิตอีกหลายแห่งที่ผลิตขนมไทยเพื่อการส่งออก ซึ่งในการขยายตลาดต่างประเทศสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าได้หลายเท่าตัว อย่างไรก็ตามมูลค่าของการส่งออกที่ปรากฏเป็นตัวเลขที่ชัดเจนในหมวดหมู่ของขนมไทยจากข้อมูลของกรมศุลกากรและกรมส่งเสริมการส่งออกยังไม่ชัดเจนนัก อาจเป็นไปได้ว่ามูลค่าของการส่งออกยังน้อยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลควรมีการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและมีการจัดตั้งหน่วยงาน Clustermapping โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาโดยร่วมมือกับร้านค้าหรือชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนาขนมไทยให้แข่งขันได้ โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพสินค้า มีการเก็บรักษาที่ดี บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม นอกจากนี้แล้วควรมีการจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาและมีการจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติเพื่อให้สินค้าไทยได้รับการยอมรับจากต่างชาติและเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้แก่ประเทศได้

ขั้นตอนการส่งออกขนมไทย


สำหรับขั้นตอนการส่งออกขนมไทยแสดงได้ดังรูปต่อไปนี้

 
ผู้ส่งออก

ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
และขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
สำนักบริการการค้าต่างประเทศ



ขอเอกสารการรับรองเพิ่มเติม
ตามที่ผู้นำเข้าประเทศต้องการ

พิธีการศุลกากร
 (Manual หรือ EDI)


การส่งออก



การวิเคราะห์ตลาด
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด
สภาวะตลาด  
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ ที่แหล่งเงินทุนต่างๆ เข้าไม่ถึง และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ยังขาดมาตรฐาน และความรู้ที่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ขาดความพร้อม ทั้งด้านความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การตลาด การจัดการ การบริหาร จึงไม่เคยคิดที่จะส่งสินค้าขนมไทยของตน ส่งออกขายไปยังต่างประเทศ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลเกินตัว รัฐจึงควรเข้ามาให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและด้านความรู้เหล่านี้อย่างเต็มที่ และต่อเนื่องจริงจัง โดยการจัดสร้างศูนย์ให้คำสนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบวัดมาตรฐาน ให้ความรู้และควบคุมดูแล ผู้ประกอบการขนมไทยรายเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อให้เกิดการขยายการส่งออกขนมไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนมไทย ให้สามารถตระหง่านอยู่ในวงการ การแข่งขัน ขนมประจำชาติของชาติต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป



การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายใน

 จุดแข็ง (Strength)
1.   ผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
2.  มีความรู้ความสามารถในการทำขนมไทยได้อย่างชำนาญ
3.  ขนมไทยมีสีสันที่สวยงามและมีความประณีตไม่เหมือนกับขนมชาติอื่นๆ
4.  มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
5.  มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
6.  ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง



 จุดอ่อน(Weakness)
 
1.  ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก
2.  วัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น ใบเตย ใบตอง เป็นต้น
3.  ขนมไทยบางชนิดเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน


การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายนอก

โอกาส (Opportunost)
1.  การจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาไปยังประเทศต่างๆ
2.  การจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติ
3.  คิดค้นรูปแบบขนมไทยให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้ต้องต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันแต่ก็คงความเป็นไทยอยู่
4.  คิดค้นบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและให้เหมาะกับเทศกาลต่างๆเพื่อดึงดูลูกค้าทุกเพศทุกวัย
5.  สร้างแบรนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดต่างประเทศ
อุปสรรค (Threats)

1.  มูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นเช่นพวกเครื่องแกงเป็นต้น
2.  ผลิตภัณฑ์ขนมไทยที่ส่งออกไปบางชนิดยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือที่รู้จักมากนักสำหรับตลาดต่างประเทศ
3.  สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
4.  มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
5.  ทางภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่ค่อยเข้ามาให้ความร่วมมือมากสักเท่าไหร่


แหล่งที่มา :
http://ejournal.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=3c7NuPlxO%2Bw%3D&tabid=105

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เอกลักษณ์ประเทศจีน

วัฒนธรรมจีน

       การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท
         
โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อล่ำลาแต่จะทักทายด้วยการคำนับ








        สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก ( เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย ) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ



 
แหล่งที่ม :www.wlc2china.com/about_china.html          







                                    

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร


การตลาดระหว่างประเทศ  International Marketing

          การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
          สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association : AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
            นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
            ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
            การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมากดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด


                                        

            การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ

          ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
          -ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

การค้าระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


          ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ
           เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต
          เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น

                                                            
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
          การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากร กล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ยางพาราส่วนมากผลิตในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กาแฟส่วนมากมาจากบราซิล เป็นต้น ประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตชนิดใดมาก จะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรชนิดนั้นเป็นปัจจัยการผลิต เพราะราคาของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นจะต่ำ เนื่องจากมีมากเมื่อเทียบกับความต้องการซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาขายต่ำไปด้วย ประเทศจึงควรผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน หรือสินค้าที่มีราคาสูงโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศไทยมีที่ดินมากและสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ดังนั้นไทยควรจะผลิตข้าวหรือสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นเป็นสินค้าส่งออกเพราะต้นทุนต่ำกว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นก็ควรผลิตสินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ รถยนต์ เนื่องจากมีที่ดินน้อย แต่มีปัจจัยทุนมาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ญี่ปุ่นต้องซื้อข้าวจากไทยและไทยต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือจากญี่ปุ่นอย่างไรก็ตามความมากน้อยของทรัพยากรตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวมิใช่เป็นสิ่งที่กำหนดต้นทุนให้ต่ำกว่าประเทศอื่นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความชำนาญของประชากรระดับเทคโนโลยี เป็นต้น จริงอยู่ ไทยและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากและค่าจ้างค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ แต่มิได้หมายความว่าไทยและฟิลิปปินส์จะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตเท่ากับญี่ปุ่นหรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะว่า คุณภาพของประชากรในการผลิต ตลอดจนความเจริญทางเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าไทยมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตนาฬิกาของญี่ปุ่นหรือ สวิตเซอร์แลนด์ ต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ไทยต้องซื้อนาฬิกาจากประเทศเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่านอกจากปริมาณของทรัพยากรแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตหรือความชำนาญของปัจจัยก็เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดต้นทุนการผลิตสินค้า

แหล่งที่มา
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=542.0


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
(Customer Relation Management)



      CRM หมายถึงอะไร ความหมายของ CRM ความสำคัญของ CRM การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันขององค์การนั้น จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ลูกค้ามีส่วนสำคัญมาก การรักษาลูกค้าให้อยู่ได้นานเป็นสิ่งสำคัญที่องค์การต่างให้ความสนใจ CRM จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่องค์การหลายๆ องค์การนำมาใช้อย่างมาก  ทั้งนี้เพื่อให้องค์การสามารถสร้างและรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าที่มี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์การและเป็นผู้สร้างกำไรระยะยาวให้กับองค์การ

      CRM หมายถึง วิธีการในการสร้าง การรักษา และความพยายามในการดึง Customer Value ออกมา และสร้างเป็นคุณค่าระยะยาว Life time Customer Value ดังนั้น CRM จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

      CRM เป็นทั้งกลยุทธ์และเครื่องมือขององค์การ และของพนักงานในองค์การที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ไม่ได้หมายความถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพง องค์การไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเกินไป
      หากองค์การมีเทคโนโลยีที่ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองต้นทุนในการเปลี่ยนเทคโนโลยี อย่างมาก องค์การควรให้ความสำคัญกับการกำหนดกลยุทธ์ CRMมากกว่า ทั้งนี้องค์การต้องให้พนักงานเข้าใจว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ จะสนับสนุนกลยุทธ์ CRMเท่านั้นCRM เป็นส่วนหนึ่งของทุกคนในองค์การ และสร้างความได้เปรียบให้กับองค์การ สามารถช่วยให้องค์การคาดการณ์ส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ทั้งนี้องค์การจะต้องให้ความสำคัญกับทั้งลูกค้าภายในและภายนอกองค์การ
         
แนวคิดพื้นฐานของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
          การพัฒนาระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมีสิ่งสำคัญที่เป็น หลักของการบริหาร คือ การตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้าแต่ละราย ว่าลูกค้าแต่ละรายนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน การที่องค์การสามารถทำให้ลูกค้าจงรักภักดีต่อองค์การได้นั้น เป็นหัวใจหลักในการนำองค์การไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจระยะยาว
   CRMเป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อช่วย ให้องค์การสามารถจัดการกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อองค์การ

การบริหาร CRM จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1. มีการร่วมมือกันอย่างทุมเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์การ
2. พนักงานทุกระดับและทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง
3. เครื่องมือ CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหารเพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน
4. ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็นและมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน
5. การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญแต่องค์การสามารถ ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูกแต่องค์การสามารถใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยี ไฮ-เทคเข้ามาใช้แล้วทำให้เกิดความวุ่นวาย และเพิ่มต้นทุนมหาศาล การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก็จะก่อให้เกิดคุณค่ามากกว่า

   การทำ CRM จะเป็นตัวช่วยบอกองค์การว่าควรจะรักษาลูกค้าประเภทใดแนวคิดเกี่ยวการเก็บรักษาลูกค้าให้ได้นาน ๆ นั้นจะช่วยลดต้นทุน  เนื่องจากถ้าองค์การสามารถรักษาลูกค้าให้อยู่กับองค์การได้ จะช่วยเป็นการลดต้นทุนที่เกิดจากการลดการทำงานให้เหลือน้อยครั้ง องค์การไม่ต้องเริ่มกระบวนการทำงานใหม่บ่อย ๆ ถ้าหากลูกค้าเข้าๆ ออกๆ จะทำให้เสียต้นทุนและไม่เกิดโอกาสในการทำกำไร ซึ่งโอกาสในการทำกำไรนั้นส่วนหนึ่งมาจาก

การทำ Cross Selling และ Up Selling
Cross Selling หมายถึง การซื้อต่อเนื่อง
Up Selling หมายถึง การซื้อต่อยอด

สถิติเพื่อการวิเคราะห์การดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาว

1.ต้นทุนของการแสวงหาลูกค้าใหม่มีค่าเป็น 6 เท่า ของต้นทุนในการรักษาลูกค้าเดิมไว้
2.ลูกค้าที่ไม่พอใจในสินค้าและบริการ จะบอกต่อ 10 คน ถึง ความไม่พอใจในสินค้าและบริการ
3.มีลูกค้า 91% ของลูกค้าที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ต่อข้อร้องเรียนจะไม่กลับมาใช้บริการ และซื้อสินค้าจากองค์การเหล่านั้นอีก หรือ เลิกเป็นลูกค้ากับองค์การเหล่านั้น
4.มีลูกค้า 4% ที่ไม่พอใจที่จะร้องเรียนกลับมายังองค์การ
5.มีลูกค้ามากกว่า 65 % ที่ไม่กลับมาเป็นลูกค้าขององค์การอีก ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่มากจากการไม่ดูแลเอาใจใส่ มากกว่าความพึงพอใจในคุณภาพของสินค้า

หลักการสำคัญในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

1. การมีฐานข้อมูลของลูกค้า ฐานข้อมูลต้องถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ สามารถเรียกดูได้จากทุกหน่วยงานในองค์การที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า มีการแยกประเภทลูกค้าจากฐานข้อมูล เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายมี Value ไม่เท่ากัน ซึ่งลูกค้าประกอบด้วย ลูกค้าเริ่มแรก ลูกค้าที่ช่วยประชาสัมพันธ์ และลูกค้าที่ซื้อซ้ำ
2. การมีเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ประกอบด้วย เทคโนโลยีที่เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับองค์การได้ เช่น ระบบ Call center,Web site,Interactive voice Responseเป็นต้น และอีกตัวหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์ว่าองค์การจะใช้ software ในการประมวลผลอย่างไร เช่น ใช้เพื่อการแยกแยะลูกค้า และการจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า
3. การปฏิบัติเพื่อรักษาลูกค้า เนื่องจากข้อมูล Database สามารถทำให้องค์การแยกแยะลูกค้าได้ว่ากลุ่มใดเป็นกลุ่มที่ทำกำไรสูงสุดให้ กับองค์การ หลังจากนั้นองค์การต้องมากำหนดวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าเหล่านั้น เพื่อสร้าง Relationship Program เพื่อให้เข้าถึงการให้บริการลูกค้าแต่ละรายอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำ Frequency Marketing Program การจัดทำโปรแกรม Loyalty Program หรือการจัดทำโปรแกรม Community Program เป็นต้น
4. การประเมินผล เพื่อให้ทราบว่าองค์การสามารถรักษาลูกค้าได้มากขึ้นหรือไม่อย่างไร โดยเกณฑ์ต่าง ๆ จะต้องเปลี่ยนไป จุดเน้น หรือ Focusขององค์การต้องเปลี่ยนมาอยู่ที่การรักษาลูกค้า(Keep Relation)ในระยะยาว และ เพิ่มValue ให้กับลูกค้าให้มากกว่าคุณค่าที่ลูกค้าคาดหวัง


    ที่มา: www.nanosoft.co.th/crmtip1.htm