วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความขนมไทย

"ขนมไทย กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจ"
          ขนมไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานเท่าที่มีการบันทึกก็เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย เมื่อมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมทางอาหารการกินมาจากต่างชาติด้วย
 



ขนมไทยกับความต้องการจากนานาชาติ
ขนมไทยเป็นที่ชื่นชอบจากนานาชาติโดยประเทศไทยได้มีการส่งออกขนมไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์มาเลเซียหรือเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีการทานขนมจากแป้งเหมือนประเทศไทย โดยประเทศเหล่านี้จะชอบทานขนมจำพวกขนมเหนียว ถั่วแปบ ฝอยทองกรอบส่วนประเทศทางยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งชอบทานของหวานอย่างเช่นไอศกรีมหรือช็อกโกแลตก็ปรากฏว่าขนมอย่างวุ้นกะทิ ขนมผิง ลูกชุบ หรือขนมอย่างอาลัวที่ได้ดัดแปลงโดยใช้ช็อกโกแลต คัสตาร์ดและนมเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมมาก สำหรับทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเองยอดการส่งออกขนมไทยก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคนเอเชียเข้าไปอยู่อาศัยจำนวนมาก โดยคิดเป็นสัดส่วน 4.2% ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 11.9ล้านคน โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์กและฮาวาย


                                                                       

                สำหรับสินค้า OTOP ของไทยในส่วนของขนมหวานก็เป็นที่น่าจับตามอง ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่าจากการจัดอันดับผู้ค้าผลิตภัณฑ์ขนมไทย OTOPในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์พบว่าประเทศไทยได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 3 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เช่น ข้าวแต๋น และขนมทองม้วนแต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่น เช่นพวกเครื่องแกง เป็นต้น โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 6.0 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้เป็นได้ว่าสาเหตุหลักมาจากผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก

ผู้ประกอบการขนมไทยสู่ครัวโลก
สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายขนมไทยเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศนั้นได้เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น
h บ้านขนมไทยนพวรรณ
h ร้านขนมไทยเก้าพี่น้อง
h ขนมแม่เอย-เปี๊ยะแอนด์พาย(2003)

นอกจากร้านที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีผู้ผลิตอีกหลายแห่งที่ผลิตขนมไทยเพื่อการส่งออก ซึ่งในการขยายตลาดต่างประเทศสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าได้หลายเท่าตัว อย่างไรก็ตามมูลค่าของการส่งออกที่ปรากฏเป็นตัวเลขที่ชัดเจนในหมวดหมู่ของขนมไทยจากข้อมูลของกรมศุลกากรและกรมส่งเสริมการส่งออกยังไม่ชัดเจนนัก อาจเป็นไปได้ว่ามูลค่าของการส่งออกยังน้อยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลควรมีการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและมีการจัดตั้งหน่วยงาน Clustermapping โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาโดยร่วมมือกับร้านค้าหรือชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนาขนมไทยให้แข่งขันได้ โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพสินค้า มีการเก็บรักษาที่ดี บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม นอกจากนี้แล้วควรมีการจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาและมีการจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติเพื่อให้สินค้าไทยได้รับการยอมรับจากต่างชาติและเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้แก่ประเทศได้

ขั้นตอนการส่งออกขนมไทย


สำหรับขั้นตอนการส่งออกขนมไทยแสดงได้ดังรูปต่อไปนี้

 
ผู้ส่งออก

ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
และขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
สำนักบริการการค้าต่างประเทศ



ขอเอกสารการรับรองเพิ่มเติม
ตามที่ผู้นำเข้าประเทศต้องการ

พิธีการศุลกากร
 (Manual หรือ EDI)


การส่งออก



การวิเคราะห์ตลาด
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด
สภาวะตลาด  
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ ที่แหล่งเงินทุนต่างๆ เข้าไม่ถึง และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ยังขาดมาตรฐาน และความรู้ที่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ขาดความพร้อม ทั้งด้านความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การตลาด การจัดการ การบริหาร จึงไม่เคยคิดที่จะส่งสินค้าขนมไทยของตน ส่งออกขายไปยังต่างประเทศ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลเกินตัว รัฐจึงควรเข้ามาให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและด้านความรู้เหล่านี้อย่างเต็มที่ และต่อเนื่องจริงจัง โดยการจัดสร้างศูนย์ให้คำสนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบวัดมาตรฐาน ให้ความรู้และควบคุมดูแล ผู้ประกอบการขนมไทยรายเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อให้เกิดการขยายการส่งออกขนมไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนมไทย ให้สามารถตระหง่านอยู่ในวงการ การแข่งขัน ขนมประจำชาติของชาติต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป



การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายใน

 จุดแข็ง (Strength)
1.   ผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
2.  มีความรู้ความสามารถในการทำขนมไทยได้อย่างชำนาญ
3.  ขนมไทยมีสีสันที่สวยงามและมีความประณีตไม่เหมือนกับขนมชาติอื่นๆ
4.  มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
5.  มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
6.  ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง



 จุดอ่อน(Weakness)
 
1.  ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก
2.  วัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น ใบเตย ใบตอง เป็นต้น
3.  ขนมไทยบางชนิดเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน


การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายนอก

โอกาส (Opportunost)
1.  การจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาไปยังประเทศต่างๆ
2.  การจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติ
3.  คิดค้นรูปแบบขนมไทยให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้ต้องต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันแต่ก็คงความเป็นไทยอยู่
4.  คิดค้นบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและให้เหมาะกับเทศกาลต่างๆเพื่อดึงดูลูกค้าทุกเพศทุกวัย
5.  สร้างแบรนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดต่างประเทศ
อุปสรรค (Threats)

1.  มูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นเช่นพวกเครื่องแกงเป็นต้น
2.  ผลิตภัณฑ์ขนมไทยที่ส่งออกไปบางชนิดยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือที่รู้จักมากนักสำหรับตลาดต่างประเทศ
3.  สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
4.  มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
5.  ทางภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่ค่อยเข้ามาให้ความร่วมมือมากสักเท่าไหร่


แหล่งที่มา :
http://ejournal.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=3c7NuPlxO%2Bw%3D&tabid=105

5 ความคิดเห็น: